dr.JackieSupervisor

รูปภาพของฉัน
การนิเทศแนวใหม่ โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี สร้างภาคีเครือข่าย วิจัยและพัฒนา สู่มาตรฐานสากล

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

การจัดการเรียนรู้ IS

 การจัดการเรียนการสอนการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study :IS)


"เป็นเลิศทางวิชาการ สื่อสารสองภาษา ล้ำหน้าทางความคิด 
ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก"

การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและศักยภาพความเป็นสากล คือ เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ มีทักษะในการค้นคว้า แสวงหาความรู้และมีความรู้พื้นฐานที่จำเป็น สามารถคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิผล มีทักษะชีวิต สามารถร่วมมือทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี จะต้องมีกระบวนการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีลำดับขั้นตอนที่เหมาะสม และสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น โดยมีกระบวนการสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่เรียกว่า “บันได 5 ขั้นของการพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานสากล (Five step for student development)” ได้แก่


1.     การตั้งคำถาม/สมมติฐาน (Hypothesis Formulation)

เป็นการฝึกให้ผู้เรียน ให้มีความคิดสร้างสรรค์ เกิดการเรียนรู้ในการตั้งคำถาม (Learning to Question)

2.     การสืบค้นความรู้และสารสนเทศ (Searching for Information)

เป็นการฝึกแสวงหาความรู้ ข้อมูล และสารสนเทศจากแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย เช่น ห้องสมุด อินเทอร์เน็ตหรือจากการฝึกปฏิบัติ ทดลอง เป็นต้น ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในการแสวงหาความรู้ (Learning to Search)

3.     การสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Formation)

เป็นการฝึกให้ผู้เรียนนำความรู้และสารสนเทศที่ได้จากการแสวงหาความรู้ มาถกแถลง อภิปราย เพื่อนำไปสู่การสรุปและสร้างองค์ความรู้ (Learning to Construct)

4.     การสื่อสารและนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Communication)

เป็นการฝึกให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้มาสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีทักษะในการสื่อสาร (Learning to Communicate)

5.     การบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public Service)

เป็นการนำความรู้สู่การปฏิบัติ ซึ่งผู้เรียนจะต้องเชื่อมโยงความรู้ไปสู่การทำประโยชน์ให้กับสังคม และชุมชนรอบตัวตามวุฒิภาวะของผู้เรียนและจะส่งผลให้ผู้เรียนมีจิตสาธารณะและบริการสังคม (Learning to Serve)



การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS) 

        การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามบันได 5 ขั้น สามารถดำเนินการได้หลากหลายวิธีและการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สาระการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS) นับเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งที่ใช้อย่างกว้างขวางในการพัฒนาผู้เรียน เพราะเป็นการเปิดโลกกว้างให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างอิสระในเรื่องหรือประเด็นที่ตนสนใจ เริ่มตั้งแต่การกำหนดประเด็นปัญหา ซึ่งอาจเป็น Public Issue และ Global Issue และดำเนินการค้นคว้าแสวงหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย มีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนำไปสู่การสรุปองค์ความรู้ จากนั้นก็หาวิธีการที่เหมาะสมในการสื่อสารนำเสนอให้ผู้อื่นได้รับทราบ และสามารถนำความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าไปทำประโยชน์แก่สาธารณะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกนตลอดแนว ภายใต้สาระ “การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Independent Study : IS)” ซึ่งแบ่งเป็น 3 สาระ ประกอบด้วย

1.      IS1-การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ (Research and Knowledge Formation)

เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนกำหนดประเด็นปัญหา ตั้งสมมติฐาน ค้นคว้าแสวงหาความรู้และฝึกทักษะการวิเคราะห์ สังเคราะห์และสร้างองค์ความรู้

2.      IS2-การสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation)

เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับ มาพัฒนาวิธีการถ่ายทอด/สื่อสารความหมาย/แนวคิดข้อมูลและองค์ความรู้ ด้วยวิธีการนำเสนอที่เหมาะสมหลากหลายรูปแบบและมีประสิทธิภาพ

3.      IS3-การนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity)

เป็นสาระที่มุ่งให้ผู้เรียนนำองค์ความรู้/ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติ หรือนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เกิดบริการสาธารณะ (Public Service)



แนวทางการวัดและประเมินผล

1.        กรณีที่จัดบูรณาการสาระการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ในรายวิชาพื้นฐานให้แยกเป็นหน่วยการเรียนรู้เฉพาะ และประเมินผลการเรียนรู้ของหน่วยการเรียนรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

2. กรณีจัดเป็นรายวิชาเพิ่มเติม รายวิชาการศึกษาและสร้างองค์ความรู้ (Knowledge and Research Formation – IS1) และรายวิชาการสื่อสารและการนำเสนอ (Communication and Presentation-IS2) ในระดับมัธยมศึกษาต้องประเมินผลและตัดสินผลการเรียนในระดับผลการเรียนนั้น ๆ ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

3. การนำองค์ความรู้ไปใช้บริการสังคม (Social Service Activity : IS3) ซึ่งจัดไว้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมเพื่อสาธารณประโยขน์) เป็นการนำความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้จากการเรียน IS1 และ IS2 มาใช้ในวัดและประเมินผลการวางแผนการปฏิบัติกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมตามแผนที่กำหนด และการสรุปรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรม โดยให้ผลการประเมิน ผ่าน/ไม่ผ่าน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด


AFL&PISA สู่การเรียนรู้ AL

 🗓19-20 พ.ค. 2565 AFL&PISA สู่การจัดการเรียนรู้ AL

>>>การวัดและประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ (Assessment for Learning) เป็นการวัดผลระหว่างการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนได้มองเห็น "เส้นทางการเรียนรู้และพัฒนาการของตนเอง"

***ดังนั้น Feedback จึงเป็นการสะท้อนผลการเรียนรู้ระหว่างทางที่จะให้ผู้เรียนได้เห็นการเติบโต&พัฒนาต่อไป

>>>การประเมินผลระดับนานาชาติ PISA เป็นการประเมินสมรรถะความฉลาดรู้ด้านการอ่าน (Reading Literacy) ความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ (Mathematical Literacy) และความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy) โดยเน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนเกี่ยวกับการใช้ความรู้และทักษะในชีวิตจริงมากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตร

***ดังนั้น จึงเป็น"ความน่าสนใจ" และ "ท้าทาย" ของครูผู้สอน ในการจัดกิจกรรมให้มีความหลากหลายสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามบริบทหรือสถานการณ์ในชีวิตจริงให้กับนักเรียน ในโลกยุคดิจิทัลภายใต้การทดสอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer base)

>>>การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning : AL) เป็นการจัดการเรียนรู้ที่กระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยด้วยตนเอง เพื่อฟื้นฟูภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ (Learning Loss) เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีชีวิตชีวา มีทัศนคติที่ดี, ทักษะ, และเพิ่มพูนความรู้โดยไม่รู้จบ

***ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ AL เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะ ซึ่งประกอบด้วย knowlege, Skills และ Attudes&Values จึงต้องเริ่มจาก

      1) Heart -  เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและเจตคติที่ดี (Attudes&Values)

      2) Hand - เพื่อให้ผู้เรียนได้ลงมือทำฝึกปฏิบัติจนเกิดทักษะมีความชำนาญ (Skills)

      3) Head - เพื่อให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Knowlege)

      และนอกจากนั้นแล้วยังต้องมี Health & Hi-tech เพื่อการเรียนรู้ที่ปลอภัยการเรียนรู้ที่ทันโลก(โรค)

************************************************

ดังนั้น “หัวใจสำคัญ” คือ การที่ได้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้สู่การปฏิบัติจริงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยครูเป็นผู้กำหนดลายแทงเพื่อให้ผู้เรียนสามารถไปยังขุมทรัพย์ที่เป็นเป้าหมายปลายทางได้ และที่สำคัญคือ "ไม่มีวิธีการเรียนรู้ไหนดีที่สุดนอกจากวิธีการที่เราได้ลงมือทำด้วยตัวของเราเอง"

************************************************

ดร.ณัฐวดี วังสินธ์ ศึกษานิเทศก์ สพม.ศกยส

รายงานการนิเทศ กิจกรรมการเปิดชั้นเรียน (Open Class) รอบที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยง

  รายงานการนิเทศ กิจกรรมการเปิดชั้นเรียน (Open Class) รอบที่ 2 โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยง ตามโครงการวิจัยคัดเลือกแต่งตั้งผู้บริหารสถานศึกษาโดยวิธ...