dr.JackieSupervisor

รูปภาพของฉัน
การนิเทศแนวใหม่ โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี สร้างภาคีเครือข่าย วิจัยและพัฒนา สู่มาตรฐานสากล

วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

แนวปฏิบัติการนับเวลาเรียน การสอนชดเชย และการอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา 2563


แนวปฏิบัติการนับเวลาเรียน การสอนชดเชย และการอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา 2563

***แนวทางการเปิด-ปิด ภาคเรียน ปีการศึกษา 2563
    ภาคเรียนที่ 1/63 :   
    -เปิดภาคเรียนวันที่ 1 กรกฎาคม 2563  
    -ปิดภาคเรียน วันที่14 พฤศจิกายน 2563
    ภาคเรียนที่ 2/63 :
-เปิดเรียน วันที่ 1 ธันวาคม 2563
-ปิดเรียน วันที่ 10 เมษายน 2563

    ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานสถานศึกษาในสังกัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางเดียวกัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอแจ้งแนวปฏิบัติการนับเวลาเรียน การสอนชดเชย และการอนุมัติบลการศึกษา ในปีการศึกษา 2563 ดังนี้

    1. การนับเวลาเรียน
        การจัดการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดที่หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กำหนด สถานศึกษาต้องมีเวลาเพียงพอที่จะพัฒนาผู้เรียนรอบด้าน จากสถานการณ์ COVID-19 สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนทางไกลในระบบออนแอร์ หรือออนไลน์ สามารถตรวจสอบเวลาเรียนของนักเรียน และบริหารจัดการเรียนในแต่ละภาคเรียนและตลอดปีการศึกษา ให้ครบตามโครงสร้างเวลาเรียนที่หลักสูตรกำหนด ดังนี้
    1.1 ให้เริ่มนับเวลาเรียน ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เป็นต้นไป และนับรวมเวลาเรียนที่สถานศึกษาบริหารจัดการด้วยวิธีการใด ๆ เพื่อเปิดสอนชดเชยให้ครงตามโครงสร้างเวลาเรียน
    1.2 ก่อนเริ่มเรียนตามตารางสอนทางไกลในแต่ละวัน ครูต้องมีการตรวจสอบความพร้อมของนักรเียน เหมือนกับเช็คชื่อนักเรียน ให้มีการรายงานตัวว่ามีความพร้อมที่จะเรียนใจแต่ละวิชา ตามวิธีการของแต่ละโรงเรียน ซึ่งต้องมีการชี้แจงและนัดหมายผู้ปกครองและนักเรียนให้เข้าใจ
    1.3 การนับจำนวนเวลาเรียนของแต่ละวิชา เช่น
        1.3.1 นับจำนวนชั่วโมงที่เรียนจริงตามตารางสอน
        1.3.2 กิจกรรมหรืองานใด ๆ ที่มอบหมายให้นักรเียนปฏิบัติ ถ้าหากจะนับเป็นเวลาเรียนต้องกำหนดในตารางสอน หรือเอกสารอื่น ที่ระบุไว้อย่างชัดเจน

    2. การสอนชดเชย
        การจัดการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการได้ตามบริบทและความเหมาะสม หรืออาจจะใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้หลายวิธีร่วมกัน ดังต่อไปนี้
    2.1 การจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียน
        2.1.1 เพิ่มจำนวนเวลาเรียนในแต่ละวัน
        2.1.2 เพิ่มการเรียนในวันหยุด
    2.2 การจัดการเรียนการสอนผ่านออนไลน์
        2.2.1 กำหนดตารางสอนให้ชัดเจน เพื่อนำมานับชั่วโมงการเรียนได้
        2.2.2 เลือกมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ที่สามารถวัดและประเมินผลได้จริง คำนึงถึงบริบทของนักรเียนที่บ้านและความพร้อมของผู้ปกครอง
    2.3 การจัดการเรียนการสอนแบบผสม
        การจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานหลายช่องทาง หรือหลากหลายวิธีสอน จะต้องกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ สอดคล้องกับเวลาในตารางสอน เช่น
        2.3.1 มอบหมายให้นักเรียนทำโครงงาน หรือแก้โจทย์ปัญหาที่ท้าทาย แล้วส่งไฟล์งานทางออนไลน์ หรือช่องทางอื่น ๆ ที่สะดวก
        2.3.2 การจัดการเรียนการสอน โดยครูกำหนดประเด็นหรือหัวข้อให้นักเรียนไปศึกษาล่วงหน้า พร้อมทั้งให้แหล่งข้อมูล จากนั้น นัดหมายเวลามาอภิปราย ถกแถลง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น อาจจะมาพบกันที่โรงเรียน หรือผ่านออนไลน์ตามช่องทางที่สะดวก
    นอกจากนี้ สามารถนำการเรียนการสอนในช่วงเวลาการเตรียมความพร้อม หรือการปรับพื้นฐานการเรียนรู้ของนักรเียนในวันที่ 18 พฤษภาคม - 30 มิถุนายน 2563 มาเป็นแหล่งข้อมูลได้

    3. การอนุมัติการจบการศึกษา/การออกเอกสารหลักฐานการศึกษา
        3.1 เมื่อสถานศึกษาจัดการเรียนการสอนครบตามโครงสร้างเวลาเรียน และเกณฑ์การจบแต่ละระดับ
 ให้อนุมัติการจบการศึกษา ภายในวันที่ 9 เมษายน 2564
        3.2 กรณีนักเรียนมีผลการเรียนไม่สมบูรณ์ (ติด ๐ ร มส) ให้สถานศึกษาสอนซ่อมเสริม และดำเนินการวัดและประเมินผลให้เสร็จสิ้น และอนุม้ติการจบการศึกษา ภายในวันที่ 15 พฤษภาคม 2564



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รายงานการนิเทศ กิจกรรมการเปิดชั้นเรียน (Open Class) รอบที่ 3 โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยง

  วันที่ 17 กันยายน 2567 นายชาญชัย ทองแสน ผอ.สพป.อุบลราชธานี เขต 4 มอบหมายให้ ดร.จิตรฐิกานต์ สบายจิตร หัวหน้าศูนย์พัฒนานวัตกรรมการศึก...